วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555



วันนี้เป็นวัน ครบรอบวันเกิดปีที่ 374 นิโคลัส สเตโน ( Nicolas Steno ) นักธรณีวิทยาชาวเดนมาร์ก ผู้ค้นพบหลักหลักและกฏทางธรณีวิทยาที่สำคัญ ได้แก่







กฎการซ้อนทับ
Nicolas Steno เป็นกฎหนึ่งที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยา โดยกล่าวไว้ว่า “เมื่อเราพบเห็นตะกอนของหินตะกอน หรือหินภูเขาไฟวางตัวเป็นชั้นๆ ชั้นหินที่แก่กว่าจะอยู่ด้านล่างของชั้นหินที่อ่อนกว่าเสมอ ถ้าบริเวณนั้นไม่ถูกรบกวนโดยกระบวนการธรณีแปรสัณฐานซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงชั้น หินจนเกิดการพลิกตลบกลับได้

กฎการวางตัวแนวราบ
Nicolas Steno เช่นเดียวกันกับกฏการซ้อนทับ โดยกล่าวไว้ว่า “ระนาบชั้นหินภายในหินตะกอนในตอนแรกจะวางตัวในแนวราบเสมอ”

กฎการซ่อนตัวของชั้นหิน
Nicolas Steno กล่าวไว้ว่า “ที่บริเวณขอบของชั้นหิน จะพบการหายไปของชั้นหิน ทำให้เห็นหินโผล่ออกมา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีคำอธิบายว่าเป็นเพราะอะไร เช่น จากการกร่อน จากการคดโค้ง จากการเลื่อนหรือจากภูเขาไฟ ฯลฯ

ธรณีประวัติ

1.อายุทางธรณีวิทยา เป็นอายุที่เกี่ยวกับการเกิดของโลกทุกอย่างที่อยู่ใต้ผิวดินจะเกี่ยวข้องกับธรณีวิทยาทั้งสิ้น จึงต้องมีการให้อายุเพื่อลำดับขั้นตอน เหตุการณ์ ว่าหิน ดิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ที่พบใต้ผิวโลก (จากการเจาะสำรวจ) หรือโผล่บนดินเกิดในช่วงใดเพื่อจะได้หาความสัมพันธ์และเทียบเคียงกันได้ มีหน่วยเป็นล้านปี อายุทางธรณีวิทยานอกจากเป็นตัวเลขแล้ว ยังมีชื่อเรียกซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ชื่อตามชื่อสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีการพบซากดึกดำบรรพ์ การศึกษาหาอายุทางธรณีวิทยา หาได้ 2 ลักษณะ คือ
1.1อายุเทียบสัมพันธ์หรืออายุเปรียบเทียบ เป็นช่วงระยะเวลาอายุทางธรณีวิทยาโดยศึกษาจากชั้นหินหรือลำดับชั้นหิน ลักษณะทางธรณีวิทยาหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่นๆ โดยนำมาเปรียบเทียบสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับดรรชนีต่างๆ รายงานวิชาการอื่นๆ ที่พบในชั้นหิน เช่น หาจากซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ ที่พบอยู่ในหินว่าเป็นสกุลและชนิดใด เป็นต้น ซึ่งศาสตร์นี้ต้องเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งแทนที่จะบ่งบอกเป็นจำนวนปี

ตัวอย่าง ชั้นหินที่อยู่ล่างจะเกิดก่อนชั้นหินที่วางทับอยู่ เรียกกฎนี้ว่า "กฎการลำดับชั้น" (Law of Super- position) ผู้ตั้งกฎนี้คือ นิโคลัส สตีโน (Nicolaus Steno) และ "การที่หินอัคนีที่แทรกตัดเข้าไปในหินอีกชนิด หินอัคนีที่แทรกไปนี้จะมีอายุอ่อนกว่าหินที่ถูกตัด" เรียกกฎนี้ว่า "กฎความสัมพันธ์ของการตัด" (Law of Cross-cutting Relationship)

เวลาสัมบูรณ์ (absolute time) หาได้จากอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี หรือธาตุไอโซโทปซึ่งมีอะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสต่างกัน ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่มีเสถียรภาพ จะสลายตัวและปล่อยอนุภาคออกมา เวลาที่ใช้ไปในการทำให้อะตอมของธาตุที่มีอยู่เดิมสลายไปครึ่งหนึ่งเรียกว่า "ครึ่งชีวิต" (half life) โดยธาตุสุดท้ายที่เหลือจากการสลายตัวคือธาตุตะกั่ว เนื่องจากทราบอัตราการสลายตัวของธาตุที่แน่นอนในแต่ละธาตุ นักวิทยาศาสตร์จึงนำมาใช้คำนวณหาอายุสัมบูรณ์ของหินที่มีธาตุกัมมันตรังสี อายุที่ได้ถือว่าเป็นเวลาสัมบูรณ์ ธาตุที่นิยมใช้ได้แก่ ยูเรเนียม ทอเรียม โพแทสเซียม และคาร์บอน ซึ่งมักพบในแร่และหินมากน้อยต่างกัน จากงานวิจัยทำให้ทราบค่าเฉลี่ยของธาตุไอโซโทปเหล่านี้ว่าปกติมีปริมาณเท่าใด

คุณสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีที่เหมาะในการใช้หาอายุจะต้อง
1. มีอัตราการสลายตัวที่สม่ำเสมอ
2. มีครึ่งชีวิตที่นานพอสมควร
3. ควรเป็นธาตุที่พบทั่วไปในวัสดุที่เป็นเปลือกโลก

ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมใช้หาอายุหิน มียูเรเนียม 238 ซึ่งมีครึ่งชีวิตถึง 4.51พันล้านปี ธาตุสุดท้ายที่ได้จากการสลายตัวคือตะกั่ว โพแทสเซียม 40 มีครึ่งชีวิต 1.31 พันล้านปี และพบมากในหินอัคนี

กรณีต้องการหาอายุซากพืช-สัตว์ นิยมใช้ คาร์บอน-14 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 5568 ปี ส่วนใหญ่ใช้หาอายุวัตถุโบราณ ซึ่งมีอายุสูงสุดประมาณ 40,000 ปี (ไม่เกิน 100,000 ปี) คาร์บอน-14 ที่พบในธรรมชาติเกิดจากรังสีคอสมิกชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจน หลัง จากนั้นจะกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และเข้าสู่วงจรคาร์บอน ผู้ค้นพบวิธีหาอายุแบบนี้คือ ดร.ดับเบิลยู. เอฟ.ลิบบี

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555



เช็ค “แสงไฟ” ในห้องอ่านหนังสือ เลือกใช้ถูกหลักหรือไม่ พร้อมวิธีแก้ไขควรปฏิบัติ ช่วยถนอม “สายตา” บอกลา “อาการตาเพลีย”

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลังอ่านหนังสือ มักปวดรอบ ๆ ตา และหน้าผาก ตาพร่ามัว ตาลายเป็นพัก ๆ เคือง แสบ หรือ มีน้ำตาไหลร่วมด้วย นั่นเป็นสัญญาณของอาการ “ตาเพลีย” ซึ่งมักเกิดจากการใช้สายตาขณะแหล่งแสงไม่เพียงพอ ดังนั้น เพื่อดวงตาคู่สวยทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพไปนาน ๆ การเลือกใช้แสงไฟอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

สำหรับ “แสงจากธรรมชาติ” ควรเลี่ยงแสงสว่างจ้า เพราะจะทำให้สายตาอ่อนล้า หากมืดเกินไปก็เป็นปัจจัยทำสายตาสั้นได้เช่นกัน จึงควรหาโคมไฟติดไว้ เพื่อช่วยปรับแสงให้พอดีกับสภาพแวดล้อมแต่ละวัน

หากเป็น “แสงจากโคมไฟตั้งโต๊ะ” ควรใช้หลอดที่มีแสงสีนวล เลี่ยงแสงสีขาว หรือ เหลืองเกินไป เพราะจะทำให้แสงแยงตา ทั้งนี้ เพื่อการมองตัวหนังสือได้แจ่มชัด แสงที่ตกสะท้อนจากกระดาษไม่ตกเข้าตา ควรจัดวางตำแหน่งโคมไฟให้แสงเข้าด้านข้างซ้ายมือจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ช่วยให้อ่านได้สบายตา และนานขึ้น ทั้งยัง เป็นการลบเงาที่จะเกิดขึ้นด้วย

นอกจากนั้น ควรเลี่ยงอ่านหนังสือในบริเวณที่เป็น “แสงไฟกระพริบ” เพราะจะส่งผลให้ประสาทตาเสียเร็ว เนื่องจากถูกกระตุ้นตามจังหวะกระพริบของแสงนั่นเอง.

การฉลองรับปีใหม่แบบแปลกๆ




ยังพอมีควันหลงบรรยากาศฉลองปีใหม่ทั่วโลกให้ได้เห็นกัน โดยเฉพาะประเพณีความเชื่อแบบแปลกๆ สุดแหวกแนวในหลายท้องถิ่นหลายประเทศ ที่ว่ากันว่าปฏิบัติสืบทอดกันมานานแล้วเหมือนกัน นอกเหนือจากการเฉลิมฉลองแบบพื้นๆ ธรรมดาๆ อย่างจัดปาร์ตี้ร่ำสุรา จุดพลุดอกไม้ไฟ หรือแบบเราที่นิยมเข้าวัดสวดมนต์และทำบุญตักบาตรเพื่อรับสิ่งอันเป็นมงคลเข้าสู่ชีวิต

การฉลองรับปีใหม่แบบแปลกๆ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่ว่าจะพิสดารหรือแหวกแนวแค่ไหนลองพิศกันดู

@ แขกคนแรก

ตามความเชื่อของชาวสกอตแลนด์ เขามีประเพณีที่เรียกว่า "ฮอกมาเนย์" เชื่อกันว่า บุคคลแรกที่ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนแปลกหน้าที่ก้าวมาอยู่หน้าประตูบ้านหลังเที่ยงคืนเข้าสู่วันปีใหม่ ซึ่งอาจต้องมีของติดไม้ติดมือมาด้วยอย่างเช่น เกลือ ถ่าน หรือขนมปังชอร์ตเบรด จะนำความโชคดีมาสู่เจ้าของบ้านหลังนั้นตลอดทั้งปี เจ้าของบ้านหลังนั้นเองก็จะจัดเลี้ยงต้อนรับทั้งอาหารและเครื่องดื่มอย่างเต็มที่แก่แขกผู้มาเยือนคนแรกเป็นการตอบแทน ว่ากันว่าตามความเชื่อของชาวสกอตแลนด์ "แขกคนแรก" ที่เจ้าของบ้านอยากให้มา เป็นชายรูปร่างผอมสูงมากกว่า แต่ไม่ได้มีการให้เหตุผลว่าทำไม

@ กางเกงในนำโชค

หลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ที่มีชายหาดสวยงามอย่างใน บราซิล อุรุกวัย เวเนซุเอลา และเปรู การจัดปาร์ตี้ฉลองบนชายหาดเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมยอดฮิตในทุกๆ ปีของการเฉลิมฉลองวันปีใหม่ นอกจากการจัดเดินขบวนพาเหรดหรือจุดพลุดอกไม้ไฟอันยิ่งใหญ่อลังการ ผู้คนในแถบนี้ยังมีความเชื่อของ "สีกางเกงใน" ที่ใส่ฉลองรับวันปีใหม่กันด้วย เชื่อกันว่าสีของกางเกงในที่สวมใส่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความโชคดี โดยสีที่คนนิยมสวมใส่มากที่สุดคือ สีแดง มีความหมายถึง "ความรัก" และ สีเหลือง หมายถึง "เงินทอง หรือความร่ำรวย" ใครอยากได้สิ่งไหนเป็นของขวัญวันปีใหม่ก็เลือกสีใส่กันเอาเอง

@ กินองุ่น 12 ผล

ทันทีที่นาฬิกาตีบอกเวลาเที่ยงคืนครั้งแรกจนครบ 12 ครั้งของการเข้าสู่วันปีใหม่ ชาวสเปนจะพยายามกินองุ่นให้ได้ 12 ผลภายในช่วงเวลาดังกล่าว ภายใต้ความเชื่อที่ว่า หากกินองุ่นครบ 12 ผลสำเร็จในชั่วเวลาที่นาฬิกาตีบอกเวลาเที่ยงคืน จะนำพาความโชคดีมาสู่ชีวิตตลอดทั้ง 12 เดือนของปี

@ เขวี้ยงจาน

หากใครเห็นเศษจานชามเกลื่อนหน้าประตูบ้านของชาวเดนมาร์กในช่วงวันปีใหม่ อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเป็นความเชื่อที่ยึดปฏิบัติกันมานานว่า หากสามารถเขวี้ยงจานชามใส่หน้าประตูบ้านให้แตกละเอียดเป็นเศษซากได้มากชิ้นเท่าไร จะยิ่งนำพามิตรภาพมาสู่บ้านหลังนั้นมากเท่านั้น นอกจากนี้ ชาวเดนมาร์กยังนิยมก่อกองไฟรอบต้นคริสต์มาส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป

@ เผาหุ่น

การฉลองปีใหม่แบบความเชื่อเก่าๆ ของชาวปานามา ค่อนข้างจะรุนแรงสักหน่อย โดยจะมีการเผาหุ่นคนที่เป็นบุคคลสาธารณะ เรียกพิธีกรรมนี้ว่า "มูเนคอส" หุ่นคนเป็นตัวแทนของปีเก่า ซึ่งการเผาหุ่นก็หมายถึงการทำลายสิ่งเก่าๆ เพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า

@ กินกะหล่ำ

ในประเทศเยอรมนี ไอร์แลนด์ และบางท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชื่อเกี่ยวกับการกินผักกะหล่ำนำโชค เนื่องจากผักกะหล่ำมีสีเขียว เหมือนกับเงิน และเชื่อว่าจะนำความโชคดีมาให้.....